หลายคนคงเคยมีอาการปวดเข่า ข้อเข่าฝืดขัด ปวดร้าวไปถึงหน้าแข้ง โดยเฉพาะเวลาลุกนั่งหรือเดินขึ้นลงบันไดที่ต้องงอเข่ามากๆ ซึ่งเป็นสัญญาณที่บอกว่าข้อเข่าของเรากำลังมีปัญหาอะไรสักอย่าง
อาการปวดเข่านั้นอาจเกิดขึ้นชั่วคราว หรือเกิดแบบเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุ ความรุนแรง และลักษณะความผิดปกติที่เกิดขึ้น ซึ่งการรักษาก็ย่อมแตกต่างกันออกไปด้วย ตั้งแต่การพักฟื้นเฉยๆ ให้อาการปวดหายเอง ไปจนถึงการผ่าตัดเพื่อรักษาเอ็น ข้อต่อ หรือกระดูกที่เสียหายให้กลับมาเป็นปกติ หากไม่สามารถบำบัดด้วยวิธีอื่นได้ผล
บางคนอาจเข้าใจว่าอาการปวดข้อเข่านั้นเป็นโรคคนแก่ ซึ่งไม่ใช่เสมอไป เพราะบ่อยครั้งอาการนี้ก็เกิดขึ้นกับคนวัยหนุ่มได้เหมือนกัน โดยสาเหตุของอาการปวดเข่าที่เราเจอได้บ่อยๆ ได้แก่
อาการปวดเข่าที่เกิดจากสาเหตุไม่รุนแรง อย่างการเดินหรือออกกำลังกายมากๆ ส่วนใหญ่จะหายเองได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์โดยที่เราไม่ต้องไปหาหมอ แต่หากอาการปวดเข่ามีลักษณะดังต่อไปนี้ นั่นอาจเป็นสัญญาณอันตรายที่เราไม่ควรวางใจ และต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
การผ่าตัดข้อเข่าอาจจำเป็นในกรณีที่คนไข้มีอาการข้อเข่าอักเสบหรือข้อเข่าเสื่อมในระยะรุนแรง หรือมีเอ็นฉีกขาด กระดูกเสียหาย ซึ่งไม่สามารถรักษาได้ด้วยวิธีอื่นๆ แต่ถ้าสาเหตุของอาการปวดเข่านั้นไม่หนักหนามาก คุณหมอก็มักแนะนำให้ใช้การรักษาที่ไม่ต้องพึ่งพาการผ่าตัด เพื่อลดความเสี่ยง หลีกเลี่ยงความเจ็บปวด และเพื่อไม่ให้คนไข้ต้องพักฟื้นนานเกินไป ซึ่งแนวทางดังกล่าวก็มีทั้งการรักษาแบบใช้ยาและไม่ใช้ยา
สุดท้ายนี้ หากไม่อยากให้อาการปวดเข่าเรื้อรังต้องลงเอยด้วยการผ่าตัด เราก็ควรรีบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันไม่ให้อาการปวดรุนแรงขึ้น รวมถึงมองหาสาเหตุที่ชัดเจนเพื่อจะได้รักษาและป้องกันอาการปวดเข่าให้ตรงจุดและได้ผลดีที่สุด